|
ปลัดกระทรวงมหาดไทย(นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ) ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ 19 พอเพียง จังหวัดขอนแก่น เน้นย้ำ ขับเคลื่อน ขยายผลสร้างทีมอำเภอ ทีมตำบล ในทุกอำเภอเพื่อพัฒนาคน และคนพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
|
![]() |
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:45 น. ที่ศูนย์เรียนรู้ 19 |
![]() |
|
![]() |
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันนี้ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
“การจะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนในปัจจุบันนั้น มีมิติปัญหา มิติคุณภาพชีวิตที่ครอบคลุมอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น นายอำเภอจึงต้องมี “ทีมอำเภอ” ที่มาจากภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ลงไปถึงการสร้าง “ทีมตำบล” และทีมอีก 200 กว่าหมู่บ้าน ที่ต้องเป็น Teamwork ที่เข้มแข็ง นั่นคือ “ต้องทำตามหน้าที่อย่างเต็มที่” โดยนายอำเภอเป็นนายกรัฐมนตรีอำเภอ ปลัดอำเภอเป็นรองนายกรัฐมนตรีอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการก็เป็นรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงในอำเภอ ที่ต้องลงไปคลุกคลีตีโมง กระตุ้นปลุกเร้าให้คณะกรรมการหมู่บ้านทุกคนทำหน้าที่ของตนเองให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย มีความอุทิศ เสียสละตน ให้กับหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ด้วยแรงปรารถนา (passion) ที่เกิดจากแรงผลักดันภายในใจที่เราอยาก Change for Good ให้เกิดขึ้นกับประเทศ กับพี่น้องประชาชน ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้น และแน่นอนว่า โครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการฯ ไม่ได้หมายความว่าทั้งจังหวัดขอนแก่นจะมีเพียงอำเภอเมืองขอนแก่นเพียงอำเภอเดียว เมื่ออำเภอเมืองขอนแก่นที่ทำดีอยู่แล้ว ต้องช่วยขยายผลทำให้ครบทุกอำเภอ “โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ดังนั้นทุกอำเภอต้องร่วมกันสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน สร้างความเปลี่ยนแปลงให้มีแต่สิ่งที่ดี Change for Good ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งต้องสื่อสารกับพี่น้องประชาชนผ่านการติดตั้งป้ายหรือสื่อประชาสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและองค์ความรู้ตามทฤษฎีใหม่ที่มีมากกว่า 40 ทฤษฎี 4,000 กว่าโครงการของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้รับการสืบสาน รักษา และต่อยอดโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น เรื่องการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นทฤษฎีใหม่เรื่องอธรรมปราบอธรรม ที่ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ เป็นต้น อันเป็นการน้อมปฏิบัติบูชาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 สนองพระราชปณิธานที่ทรงแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร อันจะยังประโยชน์ทำให้พสกนิกรของพระองค์ทุกหมู่เหล่าจะได้มีความสุข ความเจริญ โดยมีพวกเราทุกคนที่เป็นข้าราชการและพลเมืองที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำ ชาวตำบลพระลับถือเป็นต้นแบบของพสกนิกรผู้จงรักภักดี ซึ่งพื้นที่แห่งนี้มีองค์ความรู้ มีสิ่งที่ดีที่ให้ทุกคนสามารถมาเรียนรู้ได้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ วางแผนการบริหารจัดการ เช่น วางแผนปลูกผักสวนครัวให้มีระบบที่ทำให้เรามีผักสวนครัวกินในทุกวัน โดยมีวิธีการ มีขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือนั่งคุยกัน อันเป็นการ “พัฒนาคน” ระดมสมองภาคีเครือข่าย สร้างความรู้ความเข้าใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ หรือแม้แต่โครงการพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” ทรงทำให้พวกเราทุกคนเห็นว่า ผักสวนครัวในบ้านเป็นความมั่นคงหนึ่งของชีวิต เพราะชีวิตต้องมีอาหารกินทุกวัน เพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ และอยู่ได้ด้วยผักที่ปลอดสารพิษ ไม่ก่อโรคร้ายกับร่างกาย และขอให้จังหวัดขอนแก่นได้หารือการดำเนินการจัดการน้ำเสีย ร่วมกับองค์การจัดการน้ำเสีย และหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวมและระบบบำบัดน้ำเสียครัวเรือน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียชุมชนที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นการสื่อให้เห็นว่า สิ่งที่กำลังขับเคลื่อนนี้ยังเป็นการขับเคลื่อนตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ เพื่อ Change for Good สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทั้งการให้ความรู้ การให้การศึกษา ทำให้คนมีคุณธรรม เพื่อตอกย้ำอุดมการณ์ของชุมชน ช่วยกันวางแผน ช่วยกันคิด ช่วยทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน “ขอให้มุ่งมั่นพัฒนาคนและนำองค์ความรู้จากศาสตร์พระราชามาพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่สร้างความมั่นคงให้กับคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นวิถีชีวิต ความยั่งยืนจึงจะเกิดขึ้น สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง ทำให้ชุมชนเป็นชุมชนจิตอาสาที่มีความรัก ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะชีวิตหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องเดินหน้าพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามบริบทภูมิสังคมที่เหมาะสมกับพื้นที่ อันจะยังผลให้เกิดการมีส่วนร่วม และเป็นพลังที่เข้มแข็งในการแก้ไขทุกปัญหาของพื้นที่ ต่อยอดพัฒนาเป็น “ทีมอำเภอ” “ทีมตำบล” และ “ทีมหมู่บ้าน” ที่สร้างสรรค์ประโยชน์ในทุกเวลาตลอดไป” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย |
![]() |
![]() |
นายประจวบ รักแพทย์ นายอำเภอเมืองขอนแก่น กล่าวว่า อำเภอเมืองขอนแก่น ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดขอนแก่น ให้เข้าร่วมโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ผ่านการนำเสนอโครงการ “ลำห้วยพระคือ สายน้ำแห่งชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน” ประกอบด้วย 8 โครงการย่อย ได้แก่ 1) โครงการการกำจัดผักตบชวา 2) โครงการบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวาและลูกบอลจุลินทรีย์ 3) โครงการบ้านนี้รักษ์น้ำ 4) โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียแหลมผักเบี้ยที่หนองเลิงเปลือย 5) ปลูกผักสวนครัว (รั้วกินได้) 6) โครงการผักตบชวาสร้างรายได้ 7) โครงการส่งเสริมการตลาดจำหน่ายผลผลิตของชุมชน 8) สร้างฐานเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยบูรณาการภาคีเครือข่ายเป็นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชาสู่ความยั่งยืน ต่อจากนั้นนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ พร้อมคณะได้เดินทางไปที่แปลง โคก หนองนา พุทธอารยเกษตร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อร่วมกิจกรรม “พลังบวร” โคกหนองนาพุทธอารยเกษตร “มจร” วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อแก้ความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
![]() |
![]() |
|